เทคโนโลยีสะอาด
ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง
ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการพิจารณาถึง
ทางออกที่ลงตัวระหว่างปัญหาทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
และพัฒนามาเป็นหลักการของเทคโนโลยีสะอาด (Clean(er) Technology, CT) หรือ การผลิตที่สะอาด (Clean(er)
Production, CP) หรือการป้องกันมลพิษ
(Pollution Prevention, P2) หรือการลดของเสียให้น้อยที่สุด (Waste
Minimization) ซึ่งคำเหล่านี้มีความหมายเดียวกันในการที่จะใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้ใช้แต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสะอาด
คืออะไร
เทคโนโลยีสะอาด คือ
กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ
และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ
และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียที่แหล่งกำเนิด
เป็นการลดภาระในการกำจัดของเสีย
ช่วยประหยัดวัตถุดิบและพลังงาน เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน
ป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการ
ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอีกทั้งเป็นการพัฒนาขีดความสามารถ
และประสิทธิภาพของการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวไปสู่มาตรฐาน
ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
หลักการของเทคโนโลยีสะอาดเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การลดการใช้พลังงาน
การใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
ซึ่งจะเห็นว่าหลักการของเทคโนโลยีสะอาดเป็นการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ปัญหานั่นเอง โดยหลักการของเทคโนโลยีสะอาด สรุปได้ดังนี้
1. การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งได้เป็น 2
แนวทางใหญ่ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
1.1 การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์
อาจทำได้โดยการออกแบบให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด หรือให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
1.2 การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ซึ่งแบ่งได้เป็น 3
กลุ่ม ได้แก่
1.2.1
การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ
หรือมีความบริสุทธิ์สูง รวมทั้งลดหรือยกเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย
เพื่อหลีกเลี่ยงการเติมสิ่งปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการผลิต
และพยายามใช้วัตถุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
1.2.2
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทำได้โดยการออกแบบใหม่
เพิ่มระบบอัตโนมัติเข้าช่วยปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้
1.2.3
การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เสียลดลง
และยังทำให้เกิดของเสียที่จะต้องจัดการกำจัดลดน้อยลง
โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิตกระบวนการงานและขั้นตอนบำรุงรักษาที่ชัดเจน
รวมถึงการจัดระบบ การบริหารการจัดการในโรงงาน
2. การนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง
คือ
2.1 การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน
โดยหาทางนำวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพมาใช้ประโยชน์
หรือหาทางใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่ในของเสีย
โดยนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือกระบวนการผลิตอื่นๆ
2.2 การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน
เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อนำเอาทรัพยากรกลับมาใช้อีก
หรือเพื่อทำให้เป็นผลพลอยได้
แนวทางของเทคโนโลยีสะอาด
แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด
คือการป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด
ในการกำจัดมลพิษจากอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยทำได้ตามขั้นตอนโดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย
ดังนี้
1.
การลดที่แหล่งกำเนิด 2.
การใช้หมุนเวียน
3.
การบำบัด 4.
การปล่อยทิ้ง
การแก้ปัญหาตามแนวทางเทคโนโลยีสะอาดจะเน้นการลดที่ต้นเหตุ
กล่าวคือเน้นที่การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรลง โดยใช้ปริมาณที่พอดีและเหลือเป็นของเสียน้อยที่สุด
ของเสียที่ออกมาต้องนำมาผ่านกระบวนการเพื่อจะนำกลับมาใช้ใหม่
จะทำให้ลดปริมาณของเสียและต้นทุนของการใช้สารเคมีให้น้อยลง
ของเสียที่ยังคงเหลืออยู่ต้องผ่านกระบวนการบำบัดจนมีคุณสมบัติดีพอที่จะปล่อยทิ้งได้ การลดการใช้และการนำกลับมาใช้ใหม่
ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
จึงเป็นแนวทางหลักของเทคโนโลยีสะอาดมากกว่าการแก้โดยการบำบัดดังเช่นที่ทำกันโดยทั่วไป
ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย
เทคนิคของเทคโนโลยีสะอาด
เทคโนโลยีสะอาด
จะเน้นการลดที่แหล่งกำเนิดและการนำกลับมาใช้ใหม่
โดยในการทำจะต้องมีการศึกษาถึงกระบวนการผลิต
เพื่อหาแนวทางที่จะปรับปรุงกระบวนการในการลดการใช้และการนำกลับมาใช้ใหม่ของพลังงาน
สารเคมี หรือน้ำ
ในการเสนอทางเลือกเทคโนโลยีสะอาด (CT
option) และการดำเนินงานในการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้
มีขั้นตอนในการประยุกต์ใช้ตามหลักของเทคโนโลยีสะอาด 5 ขั้นตอน คือ
1. การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning
& Organization)
2. การประเมินเบื้องต้น (Pre-Assessment)
3. การประเมินผล (Assessment)
4. การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5. การลงมือปฏิบัติ (Implementation)
หลังจากที่มีการตัดสินใจที่จะใช้เทคโนโลยีสะอาดในอุตสาหกรรม
ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น
และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา
โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นและการประเมินเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต
(Process Flow Chart) พิจารณาการป้อนเข้า (Input)
และการจ่ายออก (Output)
ของแต่ละปฏิบัติการหน่วย (Unit
operation) และสมดุลมวลสารและสมดุลพลังงานขึ้น
ทำให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและปริมาณของ
ของเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป
โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์
ไม่มีการลงทุนที่สูงเกินไป และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น
เมื่อวิธีการสอดคล้องกับเศรษฐศาสตร์จึงลงมือปฏิบัติการ
และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
การเริ่มต้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด
1. ผู้บริหารเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่น
2. พนักงานมีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญ
3. ระบุสาเหตุ แนวโน้มของปัญหาการใช้ทรัพยากรของเสียและสิ่งแวดล้อม
4. ประเมินวิธีการแก้ไข
ปรับปรุงโดยอาศัยความรู้แขนงต่างๆ
5. เริ่มดำเนินการในส่วนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ
หรือคุ้มค่าสูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น